หลวงพ่อแดงเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน
จ.ตราดและพื้นที่ใกล้เคียง กำลังเผชิญปัญหาความทรุดโทรมตามกาลเวลาและฝนที่รั่วซึม นี่คือโอกาสที่เราจะร่วมกันฟื้นฟูสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ให้กลับมางดงามอีกครั้ง
ในปี
พ.ศ. 2522
เกิดเหตุการณ์สู้รบในประเทศกัมพูชา
ทำให้ชาวเขมรหลายแสนคนที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เด็ก และคนชรา
ต้องหนีตายข้ามชายแดนมายังประเทศไทย โดยเฉพาะที่บ้านเขาล้าน จังหวัดตราด
หลายคนมาถึงในสภาพอิดโรยและหิวโหยเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
สภานายิกาสภากาชาดไทยทราบเรื่องพระองค์ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้สภากาชาดไทยจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือชาวเขมร ณ
บ้านเขาล้าน เพื่อให้ที่พักพิงและช่วยให้ผู้คนเหล่านี้รอดชีวิต
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีพระราชดำริให้มีพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในศูนย์ฯ
เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจแก่ผู้ลี้ภัย
พระวิสุทธิญาณเถระจึงจัดสร้างพระพุทธรูปขึ้นตามพระราชประสงค์และนำมาประดิษฐาน ณ
พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับการขนานนามจากประชาชนว่า "หลวงพ่อแดง"
ต่อมาในวโรกาสที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกา ผู้อำนวยการสภากาชาดไทย
ทรงเจริญพระชนมายุครบ 40 พรรษา
พระวิสุทธิญาณและผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันสร้างศาลาขึ้นใหม่สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อแดงและได้น้อมเกล้าถวายศาลานี้แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
เนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินถวายสักการะหลวงพ่อแดง เมื่อวันที่ 11 เดือนตุลาคม
พ.ศ.2538
.....
.....
เมื่อศาลาหลวงพ่อแดงเริ่มทรุดโทรมตามกาลเวลาสำนักบริหารกลาง สภากาชาดไทย ตัดสินใจที่จะดำเนินการบูรณะศาลาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
แข็งแรง และมีความปลอดภัย
โดยได้ประสานงานกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อออกแบบศาลาประดิษฐานหลวงพ่อแดง
และขณะนี้การออกแบบได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
งบประมาณ
ใช้งบประมาณเป็นเงินจำนวน 5,000,000 บาท