เครื่องเอกซเรย์ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งมีส่วนช่วยให้แพทย์และนักกายภาพบำบัดสามารถวินิจฉัยโรคเพื่อตรวจหาความผิดปกติของกระดูกและข้อ
ประเมินอาการป่วยตรวจหาภาวะแทรกซ้อนของโรค วางแผนการรักษาตลอดจนการผ่าตัด
และติดตามผลการรักษาสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีที่สุดและสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพกลับคืนมาได้อย่างรวดเร็ว
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นศูนย์ชำนัญพิเศษของสภากาชาดไทย ที่ให้บริการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความบกพร่องหรือความพิการทางร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยที่เข้ารับบริการมีตั้งแต่ผู้ป่วยจากโรคหลอดเลือดสมองผู้ได้รับบาดเจ็บทางสมองหรือไขสันหลัง ผู้ที่มีสภาวะถดถอยจากภาวะโรคเรื้อรังทางอายุรกรรมต่าง ๆ ผู้ที่มีความผิดปกติความ เสื่อมของระบบกระดูกและข้อ
มีความเสี่ยงในการกระดูกหักเนื่องจากมีภาวะกระดูกบาง กระดูกพรุน รวมถึงมีอาการปวดที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถและคุณภาพชีวิต
จากพันธกิจของศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทยที่มุ่งให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยและผู้พิการที่ได้มาตรฐาน โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและพัฒนางานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูให้มีความทันสมัยและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้ป่วย จึงมีความจำเป็นในการจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอลที่ได้คุณภาพและความคมชัดสูงสามารถส่งเข้าระบบสารสนเทศได้ทันทีทำให้ แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรับบริการได้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เสริมภาพลักษณ์ความพร้อมการให้บริการ
สามารถใช้ในการเรียนการสอนให้แก่นิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย พัฒนางานวิจัย การขยายงานในอนาคตเพื่อเป็นศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่สามารถดูแลฟื้นฟูแบบครบวงจรต่อไป
วัตถุประสงค์
1.จัดซื้อเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอลสำหรับบริการถ่ายภาพทุกส่วนของร่างกายโดยไม่
ต้องใช้ตลับฟิล์มแบบเดิมภาพที่ได้มีคุณภาพและความคมชัดสูงสามารถส่งเข้าระบบสารสนเทศได้ทันทีทำให้แพทย์
สามารถวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
2. ใช้ในการเรียนการสอนให้แก่นิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน เวชศาสตร์ฟื้นฟู
3. พัฒนางานวิจัย ที่สอดคล้องกับการฟื้นฟูผู้ป่วย
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่มีความจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยระบบกระดูกและข้อด้วยการเอกซเรย์
ประโยชน์ของเครื่องเอกซเรย์กับผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู
1. ตรวจหาความผิดปกติของกระดูกและข้อเช่น กระดูกหักร้าว
การเสื่อมของข้อต่อ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู
2. ตรวจหาภาวะแทรกซ้อน เช่น
การติดเชื้อ การอักเสบ หรือการเกิดกระดูกงอก
3. ประเมินความคืบหน้าของการผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการผ่าตัด
แพทย์จะใช้ภาพเอกซเรย์เพื่อประเมินว่ากระดูกที่ผ่าตัดสมบูรณ์หรือยัง
4. วางแผนการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดเพิ่มเติม
ภาพเอกซเรย์จะช่วยให้แพทย์วางแผนการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ
5. ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรคสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น
โรคข้อเสื่อม การตรวจเอกซเรย์เป็นระยะๆ
จะช่วยให้แพทย์ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรคและปรับเปลี่ยนการรักษาได้ทันท่วงที
งบประมาณ
จัดซื้อเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอล 1 เครื่อง จำนวน 7,500,000
บาท