เว็บไซต์รับบริจาคเงิน สภากาชาดไทย โดยสำนักงานจัดหารายได้ DonationHUB “รับ” เพื่อ “ให้”
TH
|
EN

หยุด...ลมชัก

21/08/2023 - 31/08/2024
โครงการต่อเนื่อง
ชวนเพื่อนมาบริจาค
คัดลอกแล้ว

โรคลมชักเป็นภาวะที่เซลล์สมองปล่อยคลื่นไฟฟ้าออกมามากผิดปกติสาเหตุของโรคลมชักในผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกันไปซึ่งอาจเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บในวัยเด็กทำให้สมองขาดออกซิเจนเกิดหลังจากอุบัติเหตุทางสมองเกิดจากเนื้องอกในสมองพยาธิในสมองหรือโรคเส้นเลือดสมองตีบตันหรือแตกในผู้สูงวัยและในผู้ป่วยบางรายอาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรคลมชักนั้นส่งผลทั้งทางด้านร่างกายเช่นเมื่อเกิดอาการชักก็จะทำให้ผู้ป่วยล้มลงและเกิดการบาดเจ็บในอวัยวะส่วนอื่นตามมาส่วนผลกระทบทางด้านสังคมในบางครั้งถึงแม้แพทย์จะยืนยันว่าอาการชักของผู้ป่วยสามารถควบคุมได้แล้วก็ตามผู้ป่วยก็ยังไม่ได้รับโอกาสในการทำงาน และไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนในสังคมเท่าที่ควร


ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคลมชักครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ริเริ่มการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อยาด้วยการผ่าตัดเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและของภูมิภาคอาเซียนมีผู้ป่วยผ่าตัดไปแล้วกว่า 1,000 ราย ปัจจุบันศูนย์ฯมีการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อช่วยระบุจุดกำเนิดชักในผู้ป่วยที่มีอาการชักแบบซับซ้อนที่ดื้อต่อยากันชักหลายชนิดเครื่องมือดังกล่าวคือเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองด้วยการจัดวางขั้วไฟฟ้าแบบละเอียด(256-channelHigh-densityElectroencephalography:HD-EEG)เครื่องมือนี้จะให้ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินหาจุดกำเนิดของการชักเพื่อการผ่าตัดได้แม่นยำขึ้นประกอบด้วยขั้วไฟฟ้ามากถึง256ขั้วซึ่งเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองแบบทั่วไปมีขั้วไฟฟ้าเพียง19–23ขั้วเท่านั้นข้อมูลที่ได้จากการตรวจด้วยเครื่องมือนี้จะถูกนำมาประกอบในการพิจารณารูปแบบและวิธีการผ่าตัดจะช่วยให้ผู้ป่วยจะได้รับผลข้างเคียงหรือความเสี่ยงจากการผ่าตัดน้อยลงและยังช่วยลดระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลลงอีกด้วย


การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบประสาท (neuromodulationtherapy) นั้นเป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ปัจจุบันเครื่องกระตุ้นที่นำมาใช้รักษาโรคลมชักที่ได้รับการรับรองในยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้แก่ vagus nerve stimulation (VNS) และdeep brain stimulation (DBS) ส่วน responsive neuro stimulation (RNS) มีการใช้เฉพาะในสหรัฐอเมริกาการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้น VNS นั้นได้การรับรองโดยU.S. Food and Drugs Administration(US FDA) ตั้งแต่ปีค.ศ.1997 ส่วนเครื่องกระตุ้นDBS พิ่งได้รับการรับรองในปีค.ศ.2018ที่ศูนย์โรคลมชักโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นั้นมีการให้การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นVNSมาเป็นเวลา15ปีผลการประเมินประสิทธิภาพเบื้องต้นพบว่าผลการรักษาสามารถลดความถี่อาการชักได้มากที่สุดที่12หลังการกระตุ้นคือลดได้ประมาณ20%โดยพบว่าเครื่องกระตุ้นVNSได้ผลดีที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยLennox-Gastautsyndrome(LGS)ศูนย์โรคลมชักโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีแนวคิดที่จะนำการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นเหล่านี้มาให้การรักษากับผู้ป่วยที่ดื้อต่อยากันชักที่มีอาการชักรุนแรงไม่สามารถผ่าตัดได้เพื่อหวังให้อาการชักของผู้ป่วยกลุ่มนี้ดีขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นปัจจุบันมียากันชักรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพดี สามารถช่วยควบคุมอาการชักได้ดีขึ้นแต่ยังคงไม่ถูกครอบคลุมด้วยสิทธิ์การรักษาของผู้ป่วยยาเหล่านี้มีความจำเป็นในผู้ป่วยบางรายที่อาการชักยังควบคุมได้ยากทางศูนย์โรคลมชักจึงจำเป็นที่ต้องหาแหล่งทุนเพื่อซื้อยาเหล่านี้เพื่อให้การรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้

 

ประโยชน์ที่ผู้ป่วยโรคลมชักจะได้รับ

ผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนของโรคลมชักสูงมีอาการชักที่ควบคุมได้ยากมีโอกาสเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ทันสมัยซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยในการหายจากอาการชักหรือชักมีจำนวนน้อยลงสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

ค่าใช้จ่ายศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคลมชักครบวงจรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

1. ค่าพัฒนา (upgrade) เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง High-density EEG      5,000,000.00 บาท

2. ค่าเครื่องกระตุ้นสมอง (neuromodulation devices)  5,000,000.00 บาท

สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่อาการชักควบคุมได้ยาก

3. ค่ายากันชักที่ไม่ถูกครอบคลุมด้วยสิทธิ์การรักษาของผู้ป่วย                 2,000,000.00 บาท

 

รวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น                                    12,000,000.00 บาท


730
จำนวนผู้ร่วมบริจาค
0 วัน
ระยะเวลาคงเหลือ
ร่วมบริจาค