ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรวมทั้งเป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนผู้ป่วยส่งต่อมากที่สุดในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเข้ารับการรักษาในรพ.จุฬาลงกรณ์มากกว่า700รายต่อปีและได้รับการรักษาโดยการใส่อุปกรณ์ผ่านหลอดเลือดเพื่อแก้ไขการอุดตันของหลอดเลือดสมอง(Thrombectomy)ประมาณ5-8รายต่อเดือนซึ่งการรักษาโดยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูงอาจมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินซึ่งเป็นปัญหากับผู้ป่วยทั้งที่มีสิทธิ์และไม่มีสิทธิ์การรักษาพยาบาล
โรคหลอดเลือดสมองหรือStrokeเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในประเทศไทยโดยในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตมากถึง50,000คนแบ่งอาการออกเป็น3ชนิดคือ
การรักษาโรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลันจึงมีความสำคัญมากเพื่อลดความพิการโดยการรักษาที่ถือว่าเป็นมาตรฐานคือการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ(intravenousthrombolysis)ด้วยยาrecombinant tissue plasminogen activator(rtPA)ภายใน4.5ชั่วโมงหลังเกิดอาการซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกตั้งแต่ปีพ.ศ.2536พบว่าผู้ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดมีผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้รับยาคือมีความพิการเหลืออยู่เล็กน้อยหรือหายเป็นปกติที่ระยะเวลา3เดือนมากกว่าถึงร้อยละ30อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถได้รับการรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดได้เนื่องจากมีข้อจำกัดบางประการเช่นมาไม่ทันเวลาเพิ่งได้รับการผ่าตัดใหญ่หรือบางรายได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำแล้วแต่พบว่ามีหลอดเลือดใหญ่อุดตันร่วมด้วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการใส่อุปกรณ์ผ่านหลอดเลือดเพื่อแก้ไขการอุดตันของหลอดเลือดสมอง(Thrombectomy)ซึ่งสมาคมโรคหลอดเลือดสมองของสหรัฐอเมริกา(American Stroke Association)ได้แนะนำการรักษาด้วยวิธีนี้เป็นการรักษามาตรฐานตั้งแต่ปีพ.ศ.2558โดยพบว่าผู้ที่ได้รับการรักษามีผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำอย่างเดียวกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับthrombectomyเปิดหลอดเลือดที่อุดตันได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาrtPAอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(60-80%เทียบกับ30%)กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับthrombectomyช่วยเหลือตัวเองได้มากกว่าและมีความพิการที่ระยะเวลา90วัน(modified Rankin scale≤2)น้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับrtPAอย่างเดียว(30-70%เทียบกับ20-40%)โดยอัตราการเกิดเลือดออกในสมองที่แสดงอาการและอัตราการตายไม่แตกต่างกัน
ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ
ผู้ป่วยสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่มีข้อบ่งชี้ในการใส่อุปกรณ์ผ่านหลอดเลือดเพื่อแก้ไขการอุดตันของหลอดเลือดสมอง(Thrombectomy)จำนวนทั้งสิ้น50-60รายต่อปีสามารถเข้าถึงบริการการรักษาที่เป็นมาตรฐานระดับสากลลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายส่วนเกินทั้งผู้ป่วยที่มีสิทธิ์และไม่มีสิทธิ์การรักษาพยาบาล